วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพ : ถ่ายภาพดวงไฟตอนกลางคืนให้แสงออกมาเป็นแฉกๆ... ...แบบไม่ง้อฟิลเตอร์...



เทคนิคนี้ง่ายมาก สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือกล้องดิจิตอลตัว (อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว)ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ครับ
สองสิ่งหลังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมาก ขาดไม่ได้เลยด้วยเหตุผลดังนี้
  • ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการถ่ายภาพกลางคืนจะต้องใช้ Shutter Speed ที่ช้ามาก ทำให้ภาพสั่นไหวได้
  • สายลั่นชัตเตอร์นำมาใช้เวลาที่เรากดชัตเตอร์ เราจะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนกล้องซึ่งทำให้เกิดภาพสั่นไหวได้
เทคนิคง่ายๆแต่ได้ผลที่จะนำเสนอก็คือการใช้รูรับแสงให้เล็กที่สุด
เล็กขนาดไหน?? ก็ให้เล็กกว่าF16เป็นต้นไป ก็จะเริ่มเห็นเป็นแฉกแล้ว ยิ่งให้รูรับแสงเล็กเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นแฉกชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
ลองมาเปรียบเทียบภาพถ่ายมุมเดียวกัน ภาพที่ใช้รูปรับแสงต่างกันดูนะ
ภาพแรกถ่ายด้วยรูรับแสงขนาดF/10shutter speed0.8วินาที


จะเห็นว่าดวงไฟในภาพดูนวลๆไม่เป็นแฉกเท่าไหร่นัก
จากนั้นผมเปลี่ยนมาใช้รูปรับแสงให้เล็กลง โดยภาพที่สองผมถ่ายโดยใช้รูปรับแสงขนาดF/20และเนื่องจากรูรับแสงแคบลง จึงต้องลด shutter speed ลงเป็น10วินาที
เราก็จะได้ภาพที่มีแฉกสวยงามดังรูปที่สอง



เป็น เทคนิคการถ่ายภาพ ที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนครับ แต่ได้ภาพออกมาสวยแปลกตาเลยทีเดียว ลองศึกษาและนำไปใช้ดูนะคะ...

การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)

การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)
      สำหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงมาศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 10 ลักษณะ  คือ

  • รูปทรง  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ
  • รูปร่างลักษณะ มีการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดีนิยมถ่ายภาพในลักษณะ ย้อนแสง        
             ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้น หมดความงามไป
  • ความสมดุลที่เท่ากัน  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว
  • ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน  การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี  รูปทรง ท่าทาง  ฉากหน้า  ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี
  • ฉากหน้า  ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป
                           ข้อควรระวัง  อย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง
  • ฉากหลัง  พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป
  • กฏสามส่วน  เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด (ดังภาพ) หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด  หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก

  • เส้นนำสายตา  เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • เน้นด้วยกรอบภาพ  แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ
 
  • เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน   หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา
            ที่ได้กล่าวมาทั้ง 10 ลักษณะ เป็นเพียงการจัดองค์ประกอบภาพที่เป็นที่นิยมกัน และเป็นพื้นฐาน ในการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพ ควรฝึกการจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะ ที่แปลกใหม่ อยู่เสมอ ซึ่งเชื่อแน่ว่าคุณต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
เพื่อให้ได้ภาพถ่ายสวยงามสื่อสารได้ตามจุดประสงค์ ผู้ถ่ายต้องเลือกจัดภาพโดยยึดหลักพื้นฐานดังนี้ คือ
           1. จุดและเส้น (Point & line) จุดเป็นพื้นฐานในทางศิลปะทุกสาขาและเส้นก็เกิดจากการต่อกันของจุด เส้นใช้นำสายตาและแสดงการเคลื่อนไหวได้ไม่ว่าเส้นจะอยู่ลักษณะใด สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Dynamic) หรืออยู่กับที่ได้ที่นิยมใช้มี ดังนี้
                      1.1 เส้นตัวเอส S บางครั้งธรรมชาติอาจช่วยสร้างศิลปะขึ้นได้ เช่น ถนนหนทาง รูปตัว S เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพอาจจะเลือกใช้ เพื่อให้ภาพถ่ายสวยงามอีกแบบหนึ่ง
                                                          
ภาพถนน รูปตัว S
                      1.2 เส้นทะแยงมุม ในการถ่ายภาพสิ่งที่ตั้งเป็นแนวยาว ถ้าถ่ายภาพตามขวางธรรมดาจะทำให้ภาพดูแบน ๆ ไม่น่าสนใจ หากถ่ายภาพ โดยตั้งกล้องเฉียงจะได้ภาพมีลักษณะเส้นทะแยงมุมทำให้เกิดเห็นความคมชัดลึกของภาพได้ดีสวยงามภาพเส้นทะแยงมุม
                      1.3 เส้นนำสายตา ในการถ่ายภาพอาจใช้แนวพุ่มไม้เป็นแนวนำสายตาผู้ชมเข้าไปสู่เนินสูง ๆ และหมู่ไม้เบื้องหน้าซึ่งเป็นจุดเด่นของภาพได้
ภาพเส้นนำสายตา
                      1.4 เส้นรัศมี การถ่ายภาพวัตถุที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายดาวกระจายหรือรัศมีเป็นสิ่งที่ต้องยึดนำมาใช้ถ่ายภาพ โดยไม่ต้องอาศัยการแต่งเติมใด ๆ ภาพจะออกมาสวยงามได้

ภาพเส้นรัศมี

                      1.5 เส้นแนวนอน สร้างความรู้สึกที่สงบนิ่ง และมั่นคงให้กับภาพถ่าย การวางเส้นแนวนอน ควรให้อยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับกลางภาพ เช่น เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ต้องการแสดงพื้นที่ส่วนล่างให้เห็นได้จากระยะใกล้ถึงลึกไกล ควรให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างบนประมาณ 2/3 หรือ 3/4 ของพื้นที่ของภาพ ถ้าต้องการให้ภาพดูลึกไกล แสดงเรื่องราวของท้องฟ้า มากกว่าส่วนล่างให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างล่างประมาณ 1/4 หรือ 1/3 ของพื้นที่ของภาพ ถ้ามีคนรวมอยู่ด้วย หลีกเลียงไม่ให้มีเส้นแนวนอนอยู่ระดับคอหรือศรีษะของคนในภาพ
                      1.6 เส้นตรง หรือเส้นตั้ง แสดงถึงความแข็งแรง มั่นคง สง่างาม
                      1.7 เส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนโยน ร่าเริง เบิกบานและมีความงดงามประกอบกัน
          


              2. รูปร่าง (Shape) องค์ประกอบส่วนมากในภาพมีลักษณะที่เป็นรูปร่างอยู่มากสามารถบอกให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเช่นไร ด้วยเค้าโครงภายนอกและลักษณะรูปร่างสามารถแยกแยะวัตถุได้เด่นชัดนำมาใช้ประกอบช่วยให้ภาพมีจุดสนใจสดุดตาแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ถึงแม้รูปร่างจะไม่แสดงมิติความลึก หนาก็ตามแต่สามารถเข้าใจในภาพได้ เช่น การถ่ายภาพคนเงาดำย้อนแสง จะเห็นลักษณะรูปร่างของคนได้อย่างดี


ภาพคนเงาดำย้อนแสง
           3. รูปทรง (Form) การถ่ายทอดลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ได้สมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพทิศทางของแสง และมุมกล้องเป็นสำคัญ รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

                      3.1 รูปทรงที่มีลักษณะ แบบเรขาคณิต (Geometric Form) เช่น สี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น ซึ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญในการถ่ายภาพให้ได้ดีและควรใช้การประสานกันของรูปทรง และสัดส่วนเหล่านี้ประกอบในการจัดภาพ เช่น จัดภาพรูปทรงสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมในการถ่ายภาพคนยืนอยู่ในกรอบหน้าต่าง หรือจัดภาพรูปทรงในการถ่ายภาพดอกกุหลาบที่มีกลิ่นดอกวกวนเป็นวงกลม เป็นต้น
ภาพการจัดภาพรูปวงกลม

                      3.2 รูปทรงทางธรรมชาติ (Organic Form) เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึกทางโครงสร้างของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต การนำรูปทรงชนิดนี้มาจัดองค์ประกอบจะทำให้เห็นได้ง่าย เพราะมีอยู่ในชีวิตประจำวัน
                      3.3 รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นรูปทรงที่ไม่สามารถจำแนกลักษณะได้แน่ชัดลงไป เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุดให้ความรู้สึกทางจินตนาการได้มากที่สุด เช่น รูปทรงของก้อนเมฆ กระแสน้ำ หรือก้อนหิน เป็นต้น
           4. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวจะเพิ่มความรู้สึกที่เป็นจริงขึ้นมา (Realism) บอกให้ทราบว่าสิ่งนั้น ๆ มีผิวสัมผัสเช่นไร องค์ประกอบแต่ละอย่างจะมีผิวเรียบมันหรือหยาบและมีลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป เช่น ผิวของกระจกจะเรียบมัน ผิวของหินจะขรุขระ ผิวของคนชราจะเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น การเลือกใช้พื้นผิวต่างกันมาประกอบกันทำให้ภาพดูเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่นไข่ที่มีผิวเรียบวางเด่นอยู่บนผิวขรุขระ สร้างความรู้สึกที่ขัดแย้งให้เกิดขึ้นและสดุดตามากด้วย อย่างไรก็ตามพื้นผิวจะแสดงเด่นชัดเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพ และทิศทางของแสงเป็นสำคัญ

ภาพที่มีลักษณะพื้นผิว
            5. ลวดลาย (Pattern) ลวดลาย คือลักษณะรูปร่างรูปทรง เส้น รวมถึงสิ่งที่ปรากฏซ้ำซ้อนเหมือนกันมาก ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องกันหรือเรียงกันไปตามลำดับซึ่งจะพบเห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ลวดลายอิฐบนกำแพงรั้วที่เรียงซ้อนกัน รถที่จอดเรียงรายกันหลาย ๆ คัน รถจักยานยนต์ที่เรียงกันเป็นแถว บางทีเรียกการจัดภาพถ่ายแบบนี้ว่าแบบซ้ำซ้อนนิยมใช้ประกอบเป็นโครงสร้างหลักของภาพ ช่วยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ต่างกัน ข้อควรระวังคือ อย่าจัดภาพให้เกิดความสับสนควรสอดแทรกจุดเด่นของภาพเอาไว้ด้วย เช่น รูปทรงของเจดีย์มีลักษณะคล้ายๆกัน และมีเณรเป็ฯจุดเด่นของภาพ
ตัวอย่างภาพลวดลาย

           6. น้ำหนักสี (Tone) หรือ (Chiaroscuro) น้ำหนักความกลมกลืนของสีที่ปรากฎในภาพมีค่าแตกต่างกันเพราะมีสีอ่อนและสีเข้มต่างกัน น้ำหนักของภาพถ่ายขาว-ดำก็คือ ระดับความอ่อนแก่ของสีที่มืดที่สุดคือ สีดำและค่อย ๆ สว่างขึ้นจนสว่างที่สุด คือสีขาวและระหว่างสีดำกับสีขาวก็มีสีเทานั่นเอง ดังนั้นในการจัดองค์ประกอบเกี่ยวกับน้ำหนักสีนั้นต้องให้มีความตัดกันและกลมกลืนกันในระดับต่าง ๆ ที่พอเหมาะภาพถ่ายที่ดีควรจัดให้วัตถุมีค่าน้ำหนักแตกต่างจากฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เด่นออกมาโดยทั่วไปการถ่ายภาพที่เกี่ยวข้องกับค่าของน้ำหนักนิยมถ่ายภาพ 2 ลักษณะคือ

                      6.1 ภาพสีสว่างขาว (High Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีสว่าง หรือสีขาวมาก ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกสดใส มีชีวิตชีวา สนุกสนานร่าเริง บอบบาง อ่อนหวาน


ภาพสีสว่างขาว
                      6.2 ภาพสีส่วนใหญ่มืดเข้ม (Low Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีมืดมากหรือสีดำมาก ให้ความรู้ที่โศกเศร้าเสียใจ ลึกลับน่ากลัวเคร่งขรึม บางภาพอาจมีค่าน้ำหนักสีส่วนที่สว่างขาวตัดกับสีมืดมาก ๆ ก็ได้ ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกที่น่าตื่นเต้นสดุดสายตา ส่วนภาพที่มีน้ำหนักสีที่กลมกลืนต่อเนื่องกัน จากสีที่เข้มในระยะฉากหน้าและจางลงไปถึงฉากหลัง หรือตรงกันข้าม คือฉากหน้าจางต่อไปถึงเข้มมากในฉากหลัง ภาพลักษณะนี้จะให้ความรู้สึกที่ลึกไกลได้


ภาพที่มีสีส่วนใหญ่
  7. ช่องว่าง (Space) ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวควรเว้นช่องว่างด้านหน้าสิ่งที่เคลื่อนไหวให้มากกว่าด้านหลัง เพื่อให้ผู้ดูรู้สึกอึดอัดและมีความรู้สึกว่าข้างหน้าเป็นทางปิดหรือตันที่วัตถุนั้นกำลังเคลื่อนไปชนเอาขอบของภาพ การจัดที่ว่างรอบ ๆ วัตถุช่วยเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา โดยเฉพาะฉากหลังของภาพควรให้ว่างเปล่า ไม่สับสนวุ่นวุ่นวายถ้าต้องการเน้นวัตถุ


ภาพที่เว้นช่องว่างได้เหมาะสม

           
8. กฎสามส่วน (Rule of Thirds) ก่อนการถ่ายภาพ ควรแบ่งบริเวณช่องมองภาพออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันทั้งในแนวตั้งและแนวนอนจุดที่เส้นตัดกันคือบริเวณที่ควรวางสิ่งสำคัญของภาพไว้ เพราะตำแหน่งดังกล่าวจะทำให้ภาพเด่นขึ้น ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุดดังเช่นจุดสำคัญของภาพคือ ใบหน้าของเด็กหญิงโดยเฉพาะคือดวงตา ซึ่งกำลังมองใบไม้ในมือซึ่งเป็นจุดสำคัญรองลงมา เพื่อให้สมบูรณ์จริง ๆ จึงให้ใบไม้และมือของเด็กหญิงอยู่ในบริเวณจุดตัด
กันอีกจุดหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างดวงตาและใบไม้ กฎข้อนี้มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องการเน้นวัตถุที่มีความสำคัญมาก ก็อาจวางวัตถุนั้นไว้กลางภาพก็ได้ เช่น ภาพถ่ายใกล้ของดอกไม้ที่ต้องการ เน้นให้เห็นกลีบดอกอย่างชัดเจนที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของภาพ
ตัวอย่างภาพที่ใช้กฏสามส่วน
           9. ความสมดุลย์ (Balance) ความสมดุลย์ ได้แก่การจัดให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ให้มีลักษณะที่มีน้ำหนักเท่ากันทั้งสองด้านไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งนั่นคือ ให้เกิดความสมดุลย์ทั้งในด้านวัตถุ น้ำหนักของสี แสงเป็นต้น ความสมดุลย์มี 2 ประเภท คือ

                      9.1 ความสมดุลย์แบบเสมอภาค (Formal or Symmetrical Balance) คือการจัดให้ส่วนประกอบในภาพเหมือนกันทั้ง 2 ด้านทั้งขนาด รูปร่าง และสี
ภาพที่มีความสมดุลย์แบบเสมอภาค
                      9.2 ความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค (Informal or Asymme-trical Balance) เป็นการจัดส่วนประกอบที่มีรูปทรงและสัดส่วนไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน น้ำหนักสีไม่เท่ากันหรือพื้นผิวไม่เหมือนกันเป็นต้น ลักษณะนี้อาจแก้ไขให้เกิดความรู้สึกสมดุลย์ขึ้นมาได้เช่นการวางวัตถุรูปทรงใหญ่ แต่มีสีอ่อน อยู่ข้างซ้ายส่วนรูปทรงเล็กแต่มีสีเข้มอยู่ด้านขวามือก็จะช่วยให้เกิดดุลย์กันได้ หรือวางตำแหน่ง ของวัตถุที่มีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้จุดกึ่งกลางภาพมากกว่าวัตถุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก หรือสีที่มีความสดใส เช่น สีแดง สีส้ม มีพื้นที่น้อยกว่าสีที่มีความสงบ เช่น สีฟ้า หรือสีขาว หรือพื้นผิวขรุขระ มีบริเวณน้อยกว่าพื้นผิวเรียบ เป็นต้น การจัดภาพลักษณะนี้ ต้องการให้แลดูดึงดูดความสนใจ และมีอิสระเสรีในการถ่ายภาพได้มาก

ภาพที่มีความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค
           10. มุมกล้อง (Camera Angle) ภาพที่เลือกใช้มุมกล้องต่างกันถึงแม้จะเป็นวัตถุสิ่งของอย่างเดียวกันแต่จะมีผลต่อความคิด การสื่อความหมาย และอารมณ์แตกต่างกันโดยทั่วไปมุมกล้องแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
                      10.1 ภาพระดับสายตา (Eye-level Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นดิน ในระดับเดียวกันกับสายตา ให้ความรู้สึกเป็นปกติธรรมดา
ภาพระดับสายตา
                      10.2 ภาพมุมต่ำ (Low Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงความสูงใหญ่ สง่าผ่าเผย มีอำนาจ ทรงพลัง เป็นต้น
ภาพมุมต่ำ
                      10.3 ภาพมุมสูง (High Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงขนาดเล็กความต่ำต้อยไม่สำคัญ หมดอำนาจวาสนาเป็นต้น
ภาพมุมสูง
               การเปลี่ยนมุมภาพแต่ละครั้ง ควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสียก่อนกดชัตเตอร์ เช่น ถ้าถ่ายภาพผู้หญิงด้วยมุมต่ำ และระยะใกล้เกินไป จะทำให้รูปทรงของใบหน้าผิดสัดส่วนไม่สวยงาม จะเห็นคอสั้น คางใหญ่ จมูกบานกว้าง ใบหน้าแคบแหลม เป็นต้น เมื่อเลือกมุมภาพได้แล้วต้องคำนึงถึงลักษณะทิศทางของแสงด้วย
           11. กรอบของภาพ (Framing) บางครั้งการถ่ายภาพ โดยการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาทำให้เกิดเป็นกรอบภาพขึ้นมา จะช่วยให้ภาพนั้นน่าดูยิ่งขึ้น เช่นการนำกิ่งไม้มาเป็นกรอบหน้าประกอบภาพพระพุทธรูปและเจดีย์ในเมืองโบราณที่สุโขทัยหรือการถ่ายภาพสามเณรกำลังกวาดลานวัดโดยถ่ายจากข้างในโบสถ์ให้ประตูโบสถ์เป็นกรอบ จะช่วยให้ภาพมีคุณค่ามีมิติ และความลึกน่าสนใจขึ้น

ภาพที่มีกรอบภาพ
           12. พลัง (Power) ในบางครั้งการถ่ายภาพจะแสดงถึงพลังในตัวของมันเองออกมาทำให้ภาพเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวที่ตั้งกล้องให้เห็นเส้นในแนวทะแยงมุม การส่ายกล้องตามสิ่งที่เคลื่อนไหวที่ทำให้ฉากหลังไม่ชัดแต่วัตถุชัดเจน พร้อมแสดงออกถึงพลังการเคลื่อนไหวของสิ่งนั้นตลอดจนการถ่ายภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า เช่น นักแข่งกำลังปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงเพื่อแสดงให้เห็นพลังการเคลื่อนไหว
ภาพที่มีพลัง
           13. เอกภาพ (Unity) คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยยึดถือความสัมพันธ์กันในภาพ เชื่อมโยงประกอบกันจนอยู่ในลักษณะหลอมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหนึ่งเดียว ในการถ่ายภาพต้องคำนึงถึงจังหวะในการถ่ายระยะความใกล้ไกลและต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่บันทึกลงในภาพถ่ายนั้น


ภาพที่มีความเป็นเอกภาพ
        
               14. ความเรียบง่าย (Simplification) ความเรียบง่ายสามารถผลิตรูปภาพให้มีอิทธิพลได้ เช่น รูปภาพสถานีเตือนภัยในทะเลที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์กำลังตกดินมีคลื่นกระทบฝั่งมีฉากหลังน้ำทะเล การจัดภาพไม่สลับซับซ้อนลักษณะนี้ทำให้บอกเรื่องราวได้ นอกจากนั้นอาจนำการจัดภาพอื่น ๆมาประกอบด้วย เช่นความสมดูลย์ ความกลมกลืนในภาพ (Harmonious Picture) เป็นต้น

ภาพที่มีความเรียบง่าย

           15. ส่วนเกิน หรือสิ่งที่ทำให้ภาพขาดคุณภาพไป (Merger) ก่อนการกดชัตเตอร์ทุกครั้งควรพิจารณาฉากหลัง หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อนระวังอย่าให้ปรากฏสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นในภาพ โดยเฉพาะสิ่งที่จะทำให้ภาพเสียไป เช่นโคมไฟที่งอกขึ้นกลางศีรษะของหญิงสาว ทำให้ภาพเสียไปอย่างน่าเสียดาย
         นอกจากนี้ อาจมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ให้ภาพน่าดู น่าชม มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักถ่ายภาพแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาจากผลงานของคนอื่น ๆ น่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์



การเลือกกล้องตามสไตล์การถ่ายภาพ


การเลือกกล้องตามสไตล์การถ่ายภาพ
            

          เลือกกล้องตามสไตล์การถ่ายภาพของเรา  หรือประเภทของภาพที่เราชอบ อาจช่วยให้การเลือกซื้อกล้องง่ายขึ้นบ้างสำหรับบางท่าน   ลักษณะของภาพที่เราชอบถ่าย กับคุณสมบัติที่สามารถเลือกหาได้ในกล้องดิจิตอล จะช่วยจำกัดรุ่นและยี่ห้อของกล้องให้เหลือน้อยลงได้มากพอสมควร 
           
            ถ่ายภาพคนเป็นกลุ่ม  คนพร้อมวิวทิวทัศน์  หรือถ่ายภาพภายในอาคาร  สถาปัตยกรรม - Landscape, Group Photography, Architecture
            เลนส์   -   เลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสเริ่มต้นระหว่าง 24 - 28 มม. จะให้มุมมองของภาพที่กว้าง  ช่วยให้ภาพที่บันทึกได้ดูยิ่งใหญ่   ส่วนใหญ่เลนส์ในกล้องดิจิตอลที่มีมาให้จะอยู่ในช่วง 33 - 40 มม.  จะมีเฉพาะบางรุ่นที่มีเลนส์มุมกว้างเป็นมาตรฐานมาให้  (กล้องบางรุ่นอาจมี  Converter ขายแยกเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพในมุมกว้าง)
            ระบบวัดแสง   -    กล้องควรมีระบบวัดแสงให้เลือกควบคุมและเลือกใช้ได้    จะช่วยให้การถ่ายภาพวิวในสภาพแสงต่างๆ ทำได้ดีขึ้น  (อย่างน้อยควรมีระบบชดเชยค่าแสงให้เลือกควบคุม)
            ระบบ White Balance ระบบ White Balance หรือสมดุลย์สีขาวควรมีแบบปรับตั้งค่าเองให้เลือก  และควรมีความแม่นยำพอควร จะช่วยสร้างอารมณ์ภาพได้ดียิ่งขึ้น




      ถ่ายภาพบุคคล   ภาพที่เน้นให้แบบชัดและฉากหลังเบลอ  - Portrait
            เลนส์   -     เลนส์ของกล้องควรมีช่วงซูม 3 - 6 เท่า  จะช่วยให้สัดส่วนของแบบในภาพดูดี  และสวยกว่าเพราะการเข้าไปถ่ายใกล้ๆ จะทำให้สัดส่วนของแบบผิดเพื้ยนได้ (ใบหน้า  คาง  จมูก หรือแขน)  
          รูรับแสงของเลนส์    -    ควรเลือกกล้องที่มีรูรับแสงที่กว้างเช่น F2 หรือ F2.8  จะช่วยแยกแบบให้เด่นได้มากขึ้น เพราะฉากหลังจะเบลอได้มากกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงเริ่มต้นที่แคบ หรือไม่สว่างพอ
            ตำแหน่งของแฟลช   -    แฟลชควรเป็นลักษณะ Pop Up และปรับระดับความสว่างของแฟลชได้


     
  ถ่ายภาพกีฬา   ภาพนก  สัตว์ป่า   หรือภาพที่ต้องใช้ระยะในการถ่าย (เข้าใกล้มากไม่ได้)  -            Sport,  Wild Animals, Birds
            เลนส์   -    ควรใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงหรืออย่างน้อยมีช่วงซูม 6 เท่าขึ้นไป  เพื่อช่วยดึงภาพให้เข้ามาใกล้ได้มากขึ้น ทำให้ตัวแบบเด่น  จะสะดวกมากเมื่อไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้
            ระบบควบคุมการบันทึกภาพ    -    กล้องควรมีระบบบันทึกภาพให้เลือกแบบ Shutter Priority (S หรือ Tv)  เพื่อควบคุมระดับการเคลื่อนไหว และอารมณ์ของภาพได้   กล้องบางรุ่นแม้จะมีระบบนี้ แต่การควบคุมทำได้จำกัด เลือกได้เพียงสอง - สามระดับ  ในขณะที่บางรุ่นสามารถทำได้หลากหลายมากกว่า
             ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง   -   กล้องควรมีฟังก์ชั่นถ่ายภาพต่อเนื่องให้เลือกใช้และควรมีความเร็ว (จำนวนภาพต่อวินาทีสูง = ดีกว่า)  

           การตอบสนองที่รวดเร็ว   -    กล้องควรมีการตอบสนองที่รวดเร็วหลังการกดชัตเตอร์  เนื่องจากแบบจะไม่อยู่นิ่ง  กล้องบางรุ่นมีระบบการทำงานหรือการประมวลผลที่รวดเร็วในขณะที่บางรุ่นจะมีการทำงานที่ช้ากว่า  ทำให้พลาดโอกาสได้ภาพสวยๆ
            แฟลต   -     หากมี Hot Shoe เพื่อต่อเชื่อมแฟลชภายนอกได้  จะช่วยให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น เนื่องจากแฟลชของกล้องโดยปกติแล้วจะมีกำลังอ่อน และไม่สามารถใช้สำหรับภาพระยะไกลออกไปได้ (ขึ้นอยู่กับประเภทของแฟลชภายนอกที่ใช้ด้วย)



ถ่ายภาพน้ำตก  ภาพแอ็คชั่นในลักษณะของการแพนนิ่ง  -  Waterfall,  Slow Motion , Panning
          เลนส์   -    เลนส์ควรเป็นแบบที่สามารถสวมฟิลเตอร์หน้าเลนส์ได้  หรือมีระบบ ND Filter ในตัวกล้อง เพราะการถ่ายภาพในบางช่วงจะมีความสว่างมากทำให้ต้องลดค่าแสงเพื่อช่วยให้ภาพได้อารมณ์ดีกว่า (ไม่สว่างมากเกินไป)
         ระบบบันทึกภาพ  -   หากเป็นระบบบันทึกแบบโปรแกรมสำเร็จควรมีโหมดที่ให้เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เพื่อใช้ในการบันทึกภาพ  หรือถ้าเป็นแบบ Shutter Priority (S หรือ Tv) ที่เลือกควบคุมระดับความเร็วชัตเตอร์ได้จะดีกว่า 
          ระบบ White Balance -   ระบบ White Balance ของกล้องควรมีความแม่นยำ   และไม่ควรตั้งแบบอัตโนมัติ เพราะการคำนวณจะผิดพลาดได้ง่าย  (เนื่องจากปกติภาพลักษณะนี้จะมีพื้นที่สีเขียวมาก)


ถ่ายภาพประเภทมาโคร   ภาพดอกไม้  ภาพแมลงต่างๆ  -   Macro, Flowers, Insects
            เลนส์   -    ควรมีระยะโฟกัสที่สามารถเข้าใกล้ได้  จะช่วยให้อัตราส่วนการขยายของแบบในภาพทำได้มากขึ้น  (ควรเป็นระยะที่เหมาะสม  และสามารถใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องได้)   ไม่ควรใช้เลนส์แบบฟิกซ์ (ปรับซูมไม่ได้)  เนื่องจากจะขาดคุณสมบัติความชัดตื้นของภาพซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการถ่ายภาพมาโคร
            แฟลช  -   ควรสามารถปรับลด - เพิ่มค่าแสงได้    และควรมี Hot Shoe รองรับการใช้แฟลชภายนอก

           
ขาตั้งกล้อง  -   ควรมีช่องสำหรับเสียบขาตั้งกล้อง และช่องเสียบการ์ดและแบตเตอรี่ไม่ควรอยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ในลักษณะที่การเปิดปิดทำได้ลำบากขณะบันทึกภาพเมื่อกล้องอยู่บนขาตั้งกล้อง


ถ่ายภาพวิวยามเย็น   ภาพไฟกลางคืน  ภาพพลุ  -  Night Scenery,  Sky at Dawn /  Dusk , Firework
            ความเร็วชัตเตอร์   -   ควรดูคุณสมบัติในส่วนของความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดของกล้อง  ควรให้เลือกได้ตั้งแต่ประมาณ 8 - 30 วินาที  หากมี Bulb ให้เลือกได้จะยิ่งสะดวกมากขึ้นในการควบคุม
         ระบบควบคุมการบันทึกภาพ   -   ควรมีระบบบันทึกภาพแบบแมนนวล -  Manual (M)  เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้งานได้เพื่อสร้างอารมณ์ของภาพได้หลากหลายขึ้น
            Noise Reduction   -   ควรมีระบบ Noise Reduction ที่ดี เพื่อลดปัญหาจุดด่างสีที่เลอะเปื้อนในภาพ  เวลาใช้ชัตเตอร์ต่ำในการบันทึกภาพ
          ขาตั้งกล้อง  -   ควรใช้กล้องที่รองรับการใช้งานร่วมกับขาตั้งกล้องได้
          ช่องมองภาพ   -   ควรเลือกใช้กล้องที่มีช่องมองภาพ และควรเป็นแบบ Optical  (สำหรับกล้องคอมแพค) เพราะจะช่วยให้การจัดองค์ประกอบภาพทำได้สะดวกขึ้